นศ. หอพักชายมช. โอดตึกใหม่เพิ่มฝุ่นละออง
เรื่อง: พิชชาภา พรมนาคา / ปฏิภาณ การะอุ่น
ภาพ: รัญพิรชา ซางหน่อ
นักศึกษาหอพักนักศึกษาชาย อาคาร 7 ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)ร้องการก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ (Innovative Learning Center) บริเวณหอ 2 ชายเก่า ก่อให้เกิดผลกระทบด้านเสียงและฝุ่นละออง ซึ่งเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต
การก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้มช. มีวัตถุประสงค์ คือใช้เป็นที่รองรับการเรียนการสอนแบบใหม่แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นที่ตั้งของศูนย์ TLIC โดยจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย 3 ด้านด้วยกัน คือด้านการวิจัยและการพัฒนา ต่อมาคือการพัฒนาและฝึกอบรมอาจารย์ให้มีการประยุกต์นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน และสุดท้ายจะเป็นในด้านของการบริการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนในการบริหารการเรียนการสอน ส่วนต่อมาคือส่วนของห้องแลปปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องเลกเชอร์ที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดยจะเน้นประยุกต์นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อช่วยลดขั้นตอนการสอนให้กับเหล่าคณาจารย์และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา ส่วนสุดท้ายคือส่วนของห้อง Theater ที่ใช้ในการฉายสื่อและภาพยนตร์ ผลงานของนักศึกษา ทั้งนี้ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้มช. ยังเป็นพื้นที่ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ภายในงศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้มช.ได้
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์นักศึกษาหอ 7 ชาย ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ติดกับเขตก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้มช. ที่ได้รับผลกระทบด้านปัญหาเสียงและฝุ่นละออง จากการก่อสร้างซึ่งเป็นอาคารของวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี (CAMT) โดยนักศึกษาส่วนมาก ให้สัมภาษณ์ว่า ตนไม่ทราบว่าพื้นที่ด้านข้างหอพักกำลังดำเนินการก่อสร้างอะไร และทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ไม่ได้มีการออกมาแจ้งให้นักศึกษารับทราบก่อนที่จะมีการดำเนินการก่อสร้างขึ้น และยังไม่ได้รับมาตรการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาใด ๆ จากทางมหาวิทยาลัย
ปัญหาที่พบหลัก ๆ มี 2 ประเด็นด้วยกันคือปัญหาเรื่องฝุ่นละออง อันเกิดจากการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ฝั่งที่ติดกับการก่อสร้าง คือส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถเปิดกระจกหน้าต่างได้ มิเช่นนั้นฝุ่นละอองจากการก่อสร้างจะเข้ามาภายในห้องพัก จนส่งผลต่อสุขภาพและความสะอาด โดยฝุ่นละอองมักจะเกาะตามเสื้อผ้านักศึกษาที่ตากไว้บริเวณระเบียงของห้องพัก เมื่อมีการร้องเรียนกับทางผู้ดูแลหอพักไป ทางผู้รับเหมาได้มีการฉีดน้ำบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเพื่อไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ซึ่งนักศึกษามองว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
ส่วนอีกปัญหาหนึ่งคือปัญหาเสียงดังรบกวนการพักผ่อนและการอ่านหนังสือของนักศึกษา เพราะระยะเวลาการทำงานกินเวลาตั้งแต่ 8.00 – 18.00 น. และบางครั้งมีการทำงานล่วงเวลาจนถึง 20.00 น. ทำให้นักศึกษาหลายคนลงมาร้องเรียนผู้ดูแลหอพักเรื่องการก่อสร้างดังกล่าว
นายทักษ์ดนัย ไชยยา นักศึกษาผู้ที่พักอาศัยในหอ 7 ชายฝั่งที่ติดกับพื้นที่การก่อสร้างกล่าวว่า การก่อสร้างมีเสียงรบกวนมาก เพราะอย่างที่รู้กันว่า การก่อสร้างจะเริ่มทำงานแปดโมงเช้า บางครั้งตนไม่มีเรียนในตอนเช้า บวกกับอ่านหนังสือเสร็จดึก จึงอยากนอนพักผ่อนให้เต็มที่ ช่วงสอบที่ผ่านมาก็ยิ่งรบกวนสมาธิเป็นอย่างมาก จนทางหอพักต้องร้องเรียนไปบอกให้คนงานเลิกทำงานก่อนเวลา 17.00 น. เพราะเสียงรบกวนการอ่านหนังสือของนักศึกษา ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหานายทักษ์ดนัย เสนอว่า ควรเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงปิดเทอมเพราะจะช่วยย่นระยะเวลาที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของนักศึกษา
ด้านนางสาวสุวิมล ชมภูแก้ว ผู้ปกครองหอพักนักศึกษาชาย อาคาร 7 ได้ให้สัมภาษณ์ว่าทางหอพักไม่ได้มีการแจ้ง กับนักศึกษาก่อนมีการก่อสร้างดังกล่าวจริง ส่วนเรื่องการร้องเรียนจากนักศึกษา ก็ได้รับเรื่องอยู่บ้าง และได้มีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของทางหอพักเข้าไปขอความร่วมมือกับทางผู้รับเหมาเข้ามาร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งทางผู้รับเหมาก็ได้มีการให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาด้วยการฉีดน้ำในพื้นที่ก่อสร้างบางเวลาเพื่อเป็นการลดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง
การเผาป่าทั้งในภาคเหนือของไทยและประเทศเพื่อนด้านผศ. ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทางวิทยาลัยมีอำนาจแจ้งข่าวนักศึกษาภายในวิทยาลัยเท่านั้น ไม่มีอำนาจเข้าไปแจ้งกับทางนักศึกษาหอ 7 ชาย เนื่องจากนักศึกษาหอพักมีหน่วยงานหอพักนักศึกษาคอยรับผิดชอบอยู่แล้ว และการแจ้งข่าวสารกับนักศึกษาทั้งหมดก็เป็นอำนาจของมหาวิทยาลัย แต่ในช่วงที่ทางมหาวิทยาลัยมีกิจกรรมการรับปริญญาบัตร ทางวิทยาลัยได้มีการสั่งให้หยุดการก่อสร้าง ส่วนประเด็นที่ว่าการก่อสร้างดังกล่าวเป็นการเพิ่มผลกระทบด้านฝุ่นละอองกับนักศึกษานั้น คิดว่าเป็นผลกระทบที่เล็กน้อยมาก เนื่องจากการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แต่ในช่วงนั้นก็ไม่ได้มีการร้องเรียนใด ๆ เข้ามา จึงคิดว่าปัญหาฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อนักศีกษามีสาเหตุหลักมาจากการบ้าน